แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 / 5
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง แรงและความดัน เวลา 15 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ผลลัพธ์ของแรงหลายแรง เวลา 2 ชั่วโมง
โรงเรียนวัดเขาวัง ( แสง ช่วงสุวนิช )
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
สอนโดย นางสาวพุ่มพวง สังข์วาลวงศ์
สอนเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2552
.................................................................................................
1. สาระสำคัญ
เมื่อดึงหรือผลักวัตถุด้วยแรงมากกว่าหนึ่งแรงแล้ว ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ ผลของการเคลื่อนที่นั้นจะเสมือนว่ามีแรงหนึ่งแรงกระทำต่อวัตถุ โดยแรงหนึ่งแรงนี้จะเป็นผลลัพธ์ของแรงหลาย ๆ แรงนั้น
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1 นักเรียนอธิบาย เรื่อง ผลลัพธ์ของแรงหลายแรงได้
2.2 นักเรียนปฏิบัติการทดลองเรื่อง ผลลัพธ์ของแรงหลายแรงได้
2.3 นักเรียนปฏิบัติงานตามทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้
3.สาระการเรียนรู้
แรงลัพธ์ของแรงหลายแรง
4. กิจกรรมการเรียนรู้
4.1 จัดกลุ่มนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม โดยการจัดตามที่นั่งตามแถวในห้องเรียน
4.2 นำเสนอสื่อโดยการนำ ภาพคนและช้างดันซุงที่ครูเตรียมมา ให้นักเรียนดูที่หน้าชั้นเรียน แล้วตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย ดังนี้
- ช้างและคนดันซุงได้ระยะทางเท่ากันหรือไม่
- คนสี่คนดันซุงทำให้ซุงเคลื่อนที่ได้เหมือนกับช้างดันซุงหรือไม่
- แรงที่คนสี่คนดันซุงรวมกันเทียบกับแรงที่ช้างดันซุงเป็นอย่างไร
4.3 ครูอธิบายตามภาพคนและช้างดันซุง และอธิบายการใช้อุปกรณ์และวิธีการทดลองแล้วให้นักเรียนลงมือปฏิบัติการทดลองเรื่อง ผลลัพธ์ของแรงหลายแรง จากนั้นให้นักเรียนบันทึกลงในใบงานที่ 1 เรื่อง ผลลัพธ์ของแรงหลายแรง
4.4 ปฏิบัติภาระงานตามที่กำหนด โดยให้แต่ละกลุ่มช่วยกันบันทึกทำลงในใบงานที่ 1 เรื่อง ผลลัพธ์ของแรงหลายแรง
4.5 นำเสนอผลงาน โดยให้นักเรียนส่งตัวแทนออกมารายงานผลการทดลองที่หน้าชั้นเรียน
4.6 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลการปฏิบัติการทดลอง ควรสรุปว่า แรงหลายแรงรวมกันเสมือนว่ามีแรงหนึ่งแรงและแรงหนึ่งแรงนี้เป็นผลลัพธ์ของแรงหลาย ๆ แรงนั้น โดยครูช่วยสรุปโดยการเขียนสรุปที่หน้ากระดานแล้วให้นักเรียนจดบันทึกลงบนสมุด
5. สื่อ / แหล่งเรียนรู้
1. ภาพคนและช้างดันซุง
2. ตาชั่งสปริง 2 อัน
3. ก้อนหิน ดินน้ำมัน ถ่านไฟฉาย ถุงหูหิ้ว
4. ใบงานที่ 1 เรื่อง ผลลัพธ์ของแรงหลายแรง
6. การวัดผลและการประเมินผล
6.1 สิ่งที่วัด
1) การสังเกต
- ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2) การตรวจผลงาน
- สมุดบันทึก
- ใบงานที่ 1 เรื่อง ผลลัพธ์ของแรงหลายแรง
- แฟ้มสะสมงาน
3) มีจิตวิทยาศาสตร์
- ความอยากรู้อยากเห็น
- ความซื่อสัตย์
- การยอมรับฟังความคิดเห็น
6.2 เครื่องมือวัด
- แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- แบบวัดมีจิตวิทยาศาสตร์
6.3 เกณฑ์การวัด ( ประเมินผลตามสภาพจริง โดยใช้ Rubric )
เกณฑ์การประเมินตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 โดยการใช้เครื่องมือวัดในข้อ 2
7. บันทึกหลังสอน
…………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………
วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)